การตัดอะคริลิค

Back to เรื่อง

การตัดอะคริลิค

ตัดด้วยเลื่อยวงเดือนแบบมีคาร์ไบด์

เลื่อยวงเดือน เส้นผ่านศูนย์กลาง 7นิ้ว,8นิ้ว,10นิ้ว สำหรับอะคริลิคบางๆ 1mm.-3mm. ต้องมีคาร์ไบด์อย่างน้อย 80ฟัน ขึ้นไปถึงจะทำให้การตัดอะคริลิคเรียบ และไม่มีรอยบิ่นแตก ถ้าเป็นอะคริลิคหนา 10mm. ขึ้นไป คาร์ไบด์ 40ฟันขึ้นไปจะทำให้ใบระบายเศษออกจากใบได้ดีและเรียบสวย ข้อดี ตัดตรงได้ขนาดตามที่ต้องการ เช่นต้องการตัความกว้าง45.7cm.ก็สามารถตั้งการตัดได้ แต่ตัดได้เฉพาะที่เป็นเส้นตรงและสี่เหลี่ยม แผลของการตัดจะยังเป็นรอยใบเลื่อยวงเดือนไม่เรียบมากนักทั้งยังไม่ใสเงางาม

ตัดด้วยเครื่องเจีย

ใบที่ใช้สำหรับเครื่องเจีย ใบตัดเหล็กอย่างบาง , ใบที่เป็นโลหะมีกากเพชร แต่การเจียอาจได้งานไม่เรียบขึ้นอยู่กับคนเจียมือนิ่งหรือไม่ การเจียอาจใช้เวลานานในการทำชิ้นงานและผิวบริเวณที่เจียจะเป็นสีฝ้าๆขาวๆ ไม่ตรง ผิวไม่สวย งานที่ไม่เน้นความ ละเอียด งานแต่งขนาดเล็กๆน้อยๆ *****ตัวอย่างในภาพด้านบนเป็นใบโลหะที่มีกากเพชร

ตัดด้วยด้ามกรีด

การตัดด้วยด้ามกรีดจะสะดวกในการพกพาไปด้วยแต่ต้องใช้การกรีดลงไปหลายรอบเพื่อให้เกิดรอยลึกมากพอที่จะหักอะคริลิคได้ ตัดได้แผ่นบางๆ และอาจตัดได้แค่เส้นตรง วิธีการตัดต้องเอาไม้บรรทัดมาวางเป็นแนวแล้วกรีดลงลึกถึงครึ่งของแผ่น *****ตัวอย่างด้านบนใช้ด้ามกรีดยี่ห้อOLFAรุ่นMODEL PC-L

ตัดด้วยเลื่อยจิ๊กซอว์

การตัดด้วยเลื่อยจิ๊กซอว์เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงในการตัดตามตัวอย่าง ขีดเส้นตามตัวอย่างแล้วใช้จิ๊กซอว์ตัดตามเส้น เพราะตัดได้ทั้งหนาและบาง ทั้งการตัดตรง ตัดเป็นโค้ง ตัดซิกแซก ใบเลื่อยจิ๊กซอว์ใช้ใบตัดเหล็ก จะมีความละเอียดของงานและต้องทำการขัดแต่งผิวอีกทีด้วยเครื่องขัดกระดาษทราย

ตัดด้วยเลเซอร์

ข้อดี ตัดได้ทุความหนา ทั้งสามารถตัด ลวดลายได้ทุกรูปแบบ ตัดตรง ตัดโค้ง ตามโปรแกรมและแม่นยำจากไฟล์คอมพิวเตอร์ และที่สำคัญ ขอบใส สวยงาม

ไฟล์ที่ใช้สำหรับตัดเลเซอร์

ไฟล์เวคเตอร์ –จากโปรแกรม AI  ,  CDR , DWG

ขนาดของโต๊ะตัว

  • ขนาด 40×60 cm.
  • ขนาด 62×92 cm.
  • ขนาด 84×142 cm.
  • ขนาด 130×250 cm.
  • ขนาด 150×300 cm.

ที่อื่นอาจไม่มีขนาด 150×300 cm. แต่ที่เรามี

กำลังวัตต์ของเลเซอร์

  • 80 วัตต์    เน้นงาน Engreve (แกะสลัก) ส่วนการตัดความหนาไม่เกิน2mm.
  • 90 วัตต์    เน้นงาน Engreve (แกะสลัก) ส่วนการตัดความหนาไม่เกิน3mm.
  • 100 วัตต์   ความหนาที่ตัดได้ความหนาไม่เกิน 6 mm.
  • 120 วัตต์    ความหนาที่ตัดได้ความหนาไม่เกิน 12 mm.
  • 150 วัตต์   ความหนาที่ตัดได้ความหนาไม่เกิน 25 mm.
  • 220 วัตต์   ความหนาที่ตัดได้ความหนาไม่เกิน 30 mm.

นอกจากวัตต์ที่สูงแล้ว ยังต้องมีการปรับความตรงของแสง (Alignment) ทั้งแนวนอนและแนวดิ่ง ให้แสงวิ่งตรงที่สุด เวลาตัดหนาจะรู้ได้ว่าแสงตรงไม่ตรง ถ้าตั้ง Alignment ไม่ตรงอาจจะตัดขาดแต่รอยตัดอาจจะไม่ตรง รอยจะมีความเอียง

การดูแลรักษา 

หมั่นเปลี่ยนน้ำที่ซิลเลอร์เป็นประจำทุกๆ 3-6เดือน และหยอดน้ำมัน อัดจาระบีทุกจุดที่มีจุดสำหรับอัดจาระบี เพื่อให้เครื่องเดินได้อย่างลื่นไหล ไม่สะดุด ถ้าเครื่องเดินสะดุดก็จะเกิดรอยไม่เรียบ

ช่างที่ใช้เครื่องเลเซอร์ ต้องรู้วิธีตั้ง Alignment  เพราะถือว่ามีความสำคัญในการตัด แล้วทำให้ผิวสวยตรง

ลมเป่าชิ้นงานถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน ปรับลม (เบา-แรง) ตามความหนา เบาไปก็ไม่ดีอาจจะมีรอยไหม้ชิ้นงาน ลมแรงไปก็ไม่ดีอาจจะมีผิวฝ้า ให้ปรับตามความเหมาะสม

การตัดด้วย CNC

ตัด CNC สามารถตัดขาด,ขุด,แกะสลัก ทำได้หลากหลายแม่นยำ ด้วยไฟล์จากคอมพิวเตอร์ ไฟล์นี้ใช้ CDR และ Ai ผิวในการตัดถ้าอยากทำให้เงาจะขึ้นอยู่กับรอบ พร้อมกับดอกตัดต้องใหม่และคมต้องปรับรอบให้เข้ากับดอกที่ทำการตัด และอาจต้องตัดหลายรอบ ในกรณีที่แผ่นมีความหนา ทั้งยังสามารถตัดได้หลากหลายความหนา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยาวของดอกตัดว่ามีคมกัดยาวได้แค่ไหน ดอกตัดแบ่งออกหลายประเภท มีอธิบายในเรื่องของดอกตัด CNC อีกทีครับ ส่วนการจับชิ้นงานนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ - แบบเก่า ใช้การไขน๊อตหางปลาเพื่อให้ตัวเหล็กล็อคชิ้นงาน มีทั้งเหล็กและมิเนียม และต้องจับชิ้นงานอย่างน้อย 4-6ตัว ต่อชิ้นงาน 1ชิ้น ซึ่งอาจทำให้แผ่นโก่ง ขาดบ้างไม่ขาดบ้าง อีกทั้งขยับเสียตำแหน่ง -แบบใหม่ เป็น VACUUM ใช้ลมดูดติดกับ Table ทำให้ชิ้นงานไม่ขยับ และแนบชิดเรียบเท่ากันทั้งแผ่น การตัดขาดสม่ำเสมอ เป็นระเบียบ สวยงาม ซึ่งเรามีทั้ง 2 แบบ ทั้งแบบไขยึด และแบบ VACUUM

Back to เรื่อง